3. แถบป้ายชื่อ ขนาด 8.5x17 มม.:
ถูกออกแบบให้อยู่ภายนอกบริเวณพื้นที่ด้านฝาครอบปลั๊ก ทั้งปลั๊กตัวผู้ และปลั๊กตัวเมีย สำหรับเขียน, ติดเครื่องหมาย หรือป้ายเพื่อบอกข้อมูลการใช้, รายละเอียด, หมายเลขลำดับ, ตำแหน่ง หรือวัตถุประสงค์อื่น ๆ
ประโยชน์: เพื่อบอกวัตถุประสงค์ในการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ดูรูปที่ 3 ประกอบ) ซึ่งปลั๊กพ่วงทั่วไปไม่มีพื้นที่ Name plate
4. การออกแบบชิ้นส่วนของตัวเรือน และฝาครอบไม่สมมาตรกัน:
ตัวเรือนและฝาครอบของปลั๊ก (เต้าเสียบ) และเต้ารับ (Socket) ไม่สมมาตรกัน คือชิ้นส่วนของตัวเรือน (body) มีขนาดใหญ่กว่าชิ้นส่วนฝาครอบ ความกว้างของอัตราส่วน 7.5 ต่อ 1 ขณะที่ปลั๊กเกือบทุกชิ้นมีความกว้างของตัวเรือนที่ยึดกับฝาครอบชิ้นอัตราส่วนที่ 1 : 1
ประโยชน์: ป้องกันไม่ให้ผู้ใช้สัมผัสกับเต้ารับไฟฟ้าขณะถอดปลั๊กเมื่อติดตั้งสายไฟฟ้า
ขั้วไฟฟ้าเต้ารับถูกติดตั้งอยู่ในชิ้นส่วนตัวเรือนและมีพื้นที่จำกัดซึ่งถูกปิดด้วยฝาครอบทั้งด้าน 3 ทำให้ปลอดภัยมากกว่าปลั๊กปกติที่ปิดครอบเพียงครึ่งหนึ่งของด้าน ฝาครอบที่บางกว่าทำให้ติดตั้งสายไฟฟ้าง่ายขึ้นซึ่งแตกต่างจากปลั๊กทั่วไป (ดูรูปที่ 4)
5. ออกแบบช่องสำหรับต่อสายไฟเข้าตัวปลั๊ก:
ช่องใส่สายไฟถูกออกแบบมาเพื่อให้พอดีกับสายไฟทั้งแบบสายแบน และสายกลม (ดูรูปที่ 5)
ประโยชน์: เพื่อเพิ่มทางเลือกมากขึ้นสำหรับผู้ใช้งาน คือสามารถเลือกใช้สายแบนหรือสายกลมตามลักษณะการใช้งานที่เหมาะสม และความเป็นระเบียบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งปลั๊กทั่วไปไม่สามารถทำได้