ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อความเข้าใจเรื่องปลั๊ก
ชนิดของปลั๊ก แบ่งตามหน้าที่ออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
1. ปลั๊กตัวผู้ (เต้าเสียบ) หมายถึง ตัวรับกระแสไฟฟ้าเพื่อให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานได้ ปกติจะประกอบติดมากับเครื่องใช้กระแสไฟฟ้าทุกชนิด ซึ่งสามารถใช้งานอยู่กับที่ หรือย้ายสถานที่ไปตามต้องการ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน หรือเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดพกพา สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 จำพวก คือ
1.1 ปลั๊กตัวผู้ (เต้าเสียบ) จำพวก 2 ขา หรือ 2 ขา ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับแบ่งตามทฤษฎีออกเป็นขั้ว N และขั้ว L
1.2 ปลั๊กตัวผู้ (เต้าเสียบ) จำพวก 3 ขา หรือ 3 โดยจะเพิ่มอีก 1 ขาจากข้อ 1.1 เรียกว่าสายดิน หรือ สายกราวด์(G)
2. ปลั๊กตัวเมีย (เต้ารับ) ตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า ปกติจะติดตั้งคงที่อยู่ ณ จุดที่มั่นคงจุดใดจุดหนึ่ง เช่นตามผนัง, กำแพง และเพดาน หรือในจุดที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้าภายในบ้านเรือน และอาคารทั่วไป ทั้งชนิด 2 และ 3 ขา แต่หากต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ที่ไกลจากจุดจ่ายกระแสไฟฟ้าคงที่ จำเป็นต้องใช้ ปลั๊กพ่วง หรือปลั๊กลอยเป็นการชั่วคราว อย่างไรก็ตาม สำหรับปลั๊กตัวเมีย(เต้ารับ) นั้น จำเป็นต้องออกแบบ และผลิตให้ สอดคล้องกับ ชนิด, จำพวกและประเภทของปลั๊กตัวผู้ เพื่อความปลอดภัย และเหมาะสมกับการใช้งาน
DCF 1.0
3. ปลั๊กพ่วง หมายถึง ชุดสายไฟฟ้าที่ประกอบด้วยสายไฟฟ้าขนาดความยาวตามต้องการทั้งชนิด 2 และ 3 สาย (ประมาณ 1-10-20 เมตร เป็นต้น) โดยที่ปลายสายไฟข้างหนึ่งติดตั้งปลั๊กตัวผู้(เต้าเสียบ) และติดตั้งปลั๊กตัวเมีย (เต้ารับ) ที่ปลายสายไฟอีกข้างหนึ่ง โดยแยกตัวออกเป็นอิสระจากเครื่องใช้ไฟฟ้า และจุดรับ-จ่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งหากติดตั้งปลั๊กตัวเมียจำนวนเพียง 1 ชุด เรียกว่า "ปลั๊กพ่วงชนิดเดี่ยว"
ตัวอย่างปลั๊กพ่วงชนิดเดี่ยวทั่วไป
ปลั๊กพ่วงที่มีเต้ารับ(ปลั๊กตัวเมีย)มากกว่า 1 ชุดขึ้นไป (ประมาณ 2 – 6 ชุด)
เรียกว่าปลั๊กพ่วงเอนกประสงค์ ซึ่งมีจำหน่าย และนิยมใช้ในชีวิตประจำวันในตลาดทั่วไป
หน้าที่ และประโยชน์ คือ ช่วยรับ-จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่เครื่องใช้ และอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ทำงานได้ ในตำแหน่งหรือพื้นที่ที่ต้องการ
ตัวอย่างปลั๊กพ่วงเอนกประสงค์ทั่วไป
ตัวอย่างรูปแบบปลั๊กตัวผู้ และ ปลั๊กตัวเมีย ที่ใช้ส่วนมากทั่วโลก มีประมาณ 12 แบบ
ประเทศไทยใช้ปลั๊ก แบบ A