คุณสมบัติพิเศษของปลั๊กพ่วงนิรภัย

ปลั๊กพ่วงนิรภัยแบบ 2 ขา ถูกออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งปลั๊กพ่วงนิรภัยนี้มี ลักษณะคล้ายคลึงกับปลั๊กทั่วไปในท้องตลาด แต่ตัวปลั๊กจะกระชับแน่น ใช้งานง่าย และสะดวก ผลิตจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพ และให้ความปลอดภัยได้มากกว่า


ข้อเปรียบเทียบความแตกต่างทางด้านความปลอดภัย ระหว่างปลั๊กพ่วงนิรภัยแบบ 2 ขา และปลั๊กทั่วไป

1. คลิปล็อคนิรภัย (Safety lock):

ได้ถูกออกแบบให้อยู่บริเวณด้านข้างทั้งสองด้านของตัวปลั๊กซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกับจุดที่ต้องใช้นิ้วมือ 2 นิ้วจับพอดี มีขนาด กว้าง 8.5 มม. ยาว 19 มม. และหนา 3 มม.เพื่อให้ผู้ใช้มองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอกของตัวคลิปล็อค (ดูรูปที่ 1.1) สำหรับผิวสัมผัสของคลิปล็อคจะมีลักษณะคล้ายกับครีบปลา คือมีเส้นเรียงขนานกับความกว้างของคลิปล็อคตามโลโก้ NIRAPAI เพื่อกันลื่นบนหน้าสัมผัสของตัวคลิปขณะดึงปลั๊กออกจากเต้ารับ (Socket)

ประโยชน์: คลิปล็อคชุดนี้สามารถรองรับแรงดึง (load) ไม่เกิน 10 กก. (เอกสารแนบ: รายงานการทดสอบความทนแรงดึงจาก MTEC) และแรงกดเพื่อถอดปลั๊ก 300-500 กรัม วิธีการใช้เพียงแค่ขั้นตอนเดียวโดยการเสียบปลั๊กเข้าไปแล้วดึงปลั๊กออกเท่านั้น

ปลั๊กพ่วงนิรภัยแบบ 2 ขา จึงเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน

นอกจากนี้ตัวปลั๊กยังมีโทนสีที่โดดเด่นระหว่างคลิปล็อค และตัวเรือน ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจฟังก์ชั่นการล็อคคลิปได้ทันที รวมถึงสามารถถอดเปลี่ยนคลิปล็อคได้หากชำรุด หรือแตกหัก หรือแม้แต่เปลี่ยนเป็นสีอื่น ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการระบุวัตถุประสงค์การใช้งานที่ต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้น คลิปล็อคช่วยยังเพิ่มอายุการใช้งานของเต้ารับ (Socket) โดยการป้องกันการหยุดการเชื่อมต่อระหว่างปลั๊กและเต้ารับ (Socket) เมื่อมีการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด

เต้ารับ (Socket) ตำแหน่งตัวล็อคของคลิปจะถูกติดตั้งอยู่กับเต้ารับ เป็นช่องทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ที่ปลายทั้งสองด้านของเต้ารับโดยที่คลิปล็อคของปลั๊กจะกระชับเข้ากับตำแหน่งการล็อคได้พอดี หรือหากพูดอีกแบบหนึ่ง เมื่อผู้ใช้งานเสียบปลั๊กลงในเต้ารับจะได้ยินเสียง "คลิก" แสดงถึงการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์ระหว่างปลั๊ก และเต้ารับซึ่งพร้อมสำหรับใช้งาน ผู้ใช้สามารถสังเกตได้ง่ายจากรูปลักษณ์ภายนอกโดยไม่ต้องแนะนำวิธีการใด ๆ

บริเวณพื้นที่รองรับนิ้วมือด้านข้างของเต้ารับจะมีพื้นผิวคล้ายครีบปลา(เหมือนคลิปล็อคบนเต้าเสียบ) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถจับได้กระชับมากขึ้น

ประโยชน์: เต้ารับ (Socket) ช่วยให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ได้ครบวงจร และสม่ำเสมอในระหว่างการเชื่อมต่อ ป้องกันไม่ให้ปลั๊กหลวม และเพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยการลดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรรวมถึงเพิ่มความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งปลั๊กปกติทั่วไปที่ไม่สามารถทำได้ (ดูรูปที่ 1.2)


2. ห่วงนิรภัย:

ห่วงนิรภัยได้ถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นรูกลม โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางภายในยาว 4.2 มม. ห่วงจะอยู่ในแนวทแยงมุมที่ปลายด้านซ้ายของปลั๊ก (เต้าเสียบ) และด้านขวาของเต้ารับเพื่อรับความสมดุลของน้ำหนัก สามารถมองเห็นห่วงนิรภัยได้ง่าย และชัดเจน (ดูรูปที่ 2.1) ผู้ใช้งานสามารถใช้สายเคเบิ้ลห่างจระเข้ กว้าง 4 มม. (หรือน้อยกว่า) และยาว 25 ซม. (หรือยาวกว่า) เพื่อเสียบผ่านห่วงนิรภัยทั้งสองห่วง และผูกที่ปลายทั้งสองข้างให้แน่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงในการเชื่อมต่อถึง 2 เท่า และช่วยป้องกันไม่ให้ปลั๊กหลุดออกหรือถูกลากออกไปโดยไม่ตั้งใจ

ประโยชน์อื่น ๆ ของห่วงนิรภัย: สามารถแขวนปลั๊กให้อยู่เหนือพื้นดินในกรณีที่พื้นเปียกหรือเพื่อให้สังเกตเห็นได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถแขวนป้ายเพื่อระบุการใช้งานของแต่ละปลั๊ก การออกแบบที่เรียบง่ายมีเอกลักษณ์เช่นนี้จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานซึ่งต่างจากปลั๊กทั่วไปที่ไม่สามารถทำได้ (ดูรูปที่ 2.2)


3. แถบป้ายชื่อ ขนาด 8.5x17 มม.:

ถูกออกแบบให้อยู่ภายนอกบริเวณพื้นที่ด้านฝาครอบปลั๊ก ทั้งปลั๊กตัวผู้ และปลั๊กตัวเมีย สำหรับเขียน, ติดเครื่องหมาย หรือป้ายเพื่อบอกข้อมูลการใช้, รายละเอียด, หมายเลขลำดับ, ตำแหน่ง หรือวัตถุประสงค์อื่น ๆ

ประโยชน์: เพื่อบอกวัตถุประสงค์ในการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ดูรูปที่ 3 ประกอบ) ซึ่งปลั๊กพ่วงทั่วไปไม่มีพื้นที่ Name plate

 

 

4. การออกแบบชิ้นส่วนของตัวเรือน และฝาครอบไม่สมมาตรกัน:

ตัวเรือนและฝาครอบของปลั๊ก (เต้าเสียบ) และเต้ารับ (Socket) ไม่สมมาตรกัน คือชิ้นส่วนของตัวเรือน (body) มีขนาดใหญ่กว่าชิ้นส่วนฝาครอบ ความกว้างของอัตราส่วน 7.5 ต่อ 1 ขณะที่ปลั๊กเกือบทุกชิ้นมีความกว้างของตัวเรือนที่ยึดกับฝาครอบชิ้นอัตราส่วนที่ 1 : 1

ประโยชน์: ป้องกันไม่ให้ผู้ใช้สัมผัสกับเต้ารับไฟฟ้าขณะถอดปลั๊กเมื่อติดตั้งสายไฟฟ้า

ขั้วไฟฟ้าเต้ารับถูกติดตั้งอยู่ในชิ้นส่วนตัวเรือนและมีพื้นที่จำกัดซึ่งถูกปิดด้วยฝาครอบทั้งด้าน 3 ทำให้ปลอดภัยมากกว่าปลั๊กปกติที่ปิดครอบเพียงครึ่งหนึ่งของด้าน ฝาครอบที่บางกว่าทำให้ติดตั้งสายไฟฟ้าง่ายขึ้นซึ่งแตกต่างจากปลั๊กทั่วไป (ดูรูปที่ 4)

5. ออกแบบช่องสำหรับต่อสายไฟเข้าตัวปลั๊ก:

ช่องใส่สายไฟถูกออกแบบมาเพื่อให้พอดีกับสายไฟทั้งแบบสายแบน และสายกลม (ดูรูปที่ 5)

ประโยชน์: เพื่อเพิ่มทางเลือกมากขึ้นสำหรับผู้ใช้งาน คือสามารถเลือกใช้สายแบนหรือสายกลมตามลักษณะการใช้งานที่เหมาะสม และความเป็นระเบียบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งปลั๊กทั่วไปไม่สามารถทำได้


6. รูสำหรับใส่น็อต และสกรู:

รูสำหรับใส่น็อต และสกรู แบบ Geometric type รองรับไม่ให้น็อตหรือสกรูหลุด หรือกระเด็นตกออกจากชิ้นฝาครอบของตัวปลั๊กขณะแกะแยกชิ้นส่วนปลั๊กออกจากกันเพื่อต่อหรือเปลี่ยนสายไฟ ปลั๊กทั่วไปมักจะมีรูใหญ่กว่าเล็กน้อยซึ่งทำให้น็อตหรือสกรูหลุดออกได้ง่าย อย่างไรก็ตาม สกรูภายในฝาครอบของปลั๊กนิรภัยได้ถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมโค้ง (ดูรูปที่ 6) รัศมีของวงกลมภายในรูปสามเหลี่ยมโค้งต้องเท่ากับรัศมีของสกรู (ไม่รวม pitch) ดังนั้นสกรูจะติดกับฝาครอบเสมอแม้ว่าฝาครอบจะถูกดึงออกจากตัวเรือน สำหรับช่องที่ใส่น็อตจากด้านนอกของตัวเรือนจะมีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยมที่มีขนาดแน่นอนเพื่อให้น็อตยังยึดอยู่ภายในรู ป้องกันไม่ให้สกรู และน็อตสูญหาย ซึ่งต่างจากปลั๊กธรรมดาทั่วไปที่ไม่รองรับการออกแบบในส่วนนี้

ประโยชน์: เพื่อป้องกันไม่ให้น็อตหรือสกรูกระเด็นตก และสูญหายขณะถอดชิ้นส่วนออก

7. ทุกชิ้นส่วนสามารถถอดประกอบได้:

ชิ้นส่วนสามารถถอดประกอบได้ และมีความสมมาตรของตัวปลั๊กเมื่อประกอบเข้าด้วยกัน (สมมาตรบน-ล่าง) มีขนาด 29.0 x 95.0 x 19.0 มม. ดูแข็งแรงสวยงาม และเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ในผลิตภัณฑ์ ซึ่งปลั๊กพ่วงทั่วไปไม่ได้ออกแบบไว้ (ดูรูปที่ 7)

ประโยชน์: เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนสีของคลิปล็อคให้แตกต่างจากตัวเรือนได้


8. วัตถุดิบมีหลากหลายสี:

การใช้สีที่แตกต่างกันระหว่างตัวเรือนกับคลิปล็อคเพื่อให้มองเห็นความแตกต่างของวิธีการใช้งานอย่างชัดเจน ซึ่งคลิปนิรภัยออกแบบมาจำนวน 6 สี ได้แก่ สีส้ม, สีเขียว, สีน้ำเงิน, สีเหลือง, สีน้ำตาลควันบุหรี่ และสี ซึ่งปลั๊กพ่วงทั่วไปจะไม่มีสี (ดูรูปที่ 8)

ประโยชน์:

1. เพื่อแยกประเภทการใช้งานกับอุปกรณ์ชนิดต่าง เช่น สำหรับคอมพิวเตอร์ สำหรับทีวี เป็นต้น

2. เพื่อกำหนด และ/หรือ จำกัดขอบเขตพื้นที่การใช้งาน เช่น งานต่างชั้น ต่างอาคาร โรงพยาบาล โรงงาน เป็นต้น

3. เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษเฉพาะแต่ละองค์กรที่ต้องการความเป็นเอกลักษณ์


9. ติดตั้งหลอดนีออน (ไฟ 0.25 วัตต์ 0.3 mA. มีอายุการใช้งาน 25,000 ชม. อายุการใช้งานมากกว่า 6 ปี หากใช้งานวันละ10 ชม. มีอุณหภูมิขณะใช้งานประมาณ 62 องศาเซลเซียส):

หลอดนีออนมีขนาดเล็กเหล่านี้ถูกติดตั้งอยู่ภายในปลั๊ก (เต้าเสียบ) และเต้ารับในตำแหน่งที่มองเห็นได้จากภายนอกขณะใช้งานเพื่อแสดงสถานะไฟส่องสว่างทุกครั้งเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ภายในตัวปลั๊ก (ดูรูปที่ 9)

ประโยชน์: ให้ความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นเมื่อใช้ในที่มืด แสงนีออนนี้จะช่วยเตือนให้ผู้ใช้ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังจากเสร็จสิ้นการใช้งาน


10. วัตถุดิบที่ใช้มีคุณภาพสูง:

ตัวเรือนปลั๊กพ่วงนิรภัยทำจาก PC (Poly Carbonate) เกรด A 100% สามารถ recycle ได้ มีคุณสมบัติพิเศษคือ มีความโปร่งแสง (หากไม่ผสมสีใดๆ) แข็งแกร่ง เหนียว ทนความร้อนได้ถึงอุณหภูมิ 280 องศาเซลเซียส ในตู้อบความร้อนนาน 2 ชม. เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ กล้องถ่ายรูปและสินค้าอื่นๆที่ต้องการคุณภาพสูง (ดูรูปประกอบ)

ประโยชน์: เพื่อความแข็งแรงทนทานต่อแรงกระแทก การถูไถกับงานหนักและมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าปลั๊กพ่วงทั่วไปที่ใช้วัตถุดิบเกรด PVC ผสม ซึ่งมีราคาถูกและไม่สามารถ recycle ได้

 

 

11. ชิ้นส่วนสื่อกระแสไฟฟ้า (Conductive parts):

ขั้วของปลั๊กเต้าเสียบและขั้วของปลั๊กเต้ารับทำด้วยทองเหลือง สกรูและน็อตทำด้วยเหล็ก ชิ้นส่วนทั้งหมดข้างต้นได้รับการเคลือบด้วยนิเกิล ซึ่งนอกจากเป็นตัวช่วยในการนำกระแสไฟฟ้าแล้วยังช่วยไม่ให้เกิดการออกซิเดชั่นของขั้วที่ทำด้วยทองเหลืองและเหล็ก (ดูรูปประกอบ)

ประโยชน์: ช่วยให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้นและมีความเงางามตลอดอายุการใช้งานซึ่งปลั๊กพ่วงทั่วไปไม่ได้ทำเช่นนี้ เนื่องจากเน้นการจำหน่ายในราคาต่ำ

12. เต้าเสียบ (Plug) และเต้ารับ (Socket):

ขั้วของเต้ารับ (Socket) และขั้วของเต้าเสียบ (Plug) ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้กับเต้าเสียบทั่วโลกได้

แบบปลั๊กที่ใช้ทั่วโลก

Back to Top